วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สินค้า OTOP




ประเภทอาหาร ผลิตผลทางการเกษตรที่บริโภคสด เช่น พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น ปละผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ทั้งอาหารแปรรูปที่พร้อมบริโภค หรืออาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงอาหารแปรรูปที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น น้ำพริก เป็นต้น


ประเภทเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุราแช่ สุรากลั่น เป็นต้น และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่พร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทชงละลาย ขิงผงสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ประเภทชง เช่น น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ชาใบหม่อน ชาจีน เป็นต้น


ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย ผ้าทอ และผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยธรรมชาติผสมเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าแพรวา ผ้าถักโครเชท์ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับตกแต่งร่างกายจากวัสดุทุกประเภท เช่น ผ้าพันคอ หมวก กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู รองเท้า



ประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเรือน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอยต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจักรสาน, ถักสานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น


ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก สิ่งที่สะท้อน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น


ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ผลผลิตจากธรรมชาติที่ไม่ใช่การบริโภค เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร สบู่สมุนไพร น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น












วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

เด็กรักป่า
























ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า

บุกเบิกด้านการ เชื่อมโยงศิลปะกับธรรมชาติเพื่อเด็ก มานานกว่า 20 ปี โดยมีจุดมุ่งหมาย “เอาธรรมชาติมาเป็นครู” เพื่อให้เกิดการใช้ฐานทรัพยากรของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ และให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ ด้วยการสร้างสถานที่เลี้ยงเด็ก เส้นทางศึกษาธรรมชาติ และให้ชาวบ้านเป็น “บอร์ด” การศึกษา


ร่วม “แบ่งปัน” ด้วยการ

  • สนับสนุนทุนการสร้างโรงเรียนอนุบาล ในลักษณะการ “ขายหุ้น” ให้แก่ชุมชนและผู้ร่วมแบ่งปัน เพื่อให้ลูกหลานคนในหมู่บ้านได้มีโอกาสเรียนและเข้าใจธรรมชาติ
  • ผู้มีความเชี่ยวชาญช่วย “มอง” การบริหารจัดการเพื่อให้โครงการสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
  • อาสาสมัครเข้ามาร่วมสอน/เป็นวิทยากรในวิชาต่าง ๆ

ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า

63 หมู่ 3 ต.สำโรง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 083-129-2825

ผู้ประสานงาน: อาริยา โมราษฎร์ ariya_49@hotmail.com

 

งานช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปี2555

กำหนดการจัดงานช้างและงานกาชาด จังหวัดสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๕

ความเป็นมาของงานแสดงช้างสุรินทร์
บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว “กวย” หรือ “ส่วย” นิยมเลี้ยวช้างมาแต่โบราณกาล เพื่อนำไปใช้ในงานและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของหมู่บ้านช้าง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก
 
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน โดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดง และนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมการแสดง
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ ๔๗
 
ย้อนอดีตกลับไปเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยาช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางเมืองพิมาย พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทหารออกติดตาม จนกระทั่งถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ซึ่งชาวกวยกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้างและจับช้างอย่างยิ่งในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบและนำกลับสู่กรุงศรีอยุธยาความดีความชอบในครั้งนั้น ส่งผลให้หัวหน้าชาวกูยที่เป็นคณะติดตามช้างได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
 
เหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากันสนใจกันเป็นจำนวนมาก และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลายให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกันเนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศการแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งนอกจากจะมีการแสดงคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริงมีมหรสพต่างๆตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่งในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลกนัต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี แล้ว   ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์ จังหวัดที่เคยเงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกูยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...
 
 
 

 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สุรินทร์เป็นจังหวัดในกลุ่มอีสานใต้ที่มีชาวพื้นเมืองเชื้อสายชาวส่วยอยู่มาก โดยเฉพาะที่อำเภอท่าตูม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ชาวส่วยนอกจากจะมีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างไปจากชาวไทยอีสานอื่นแล้ว ยังเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานมาแต่โบราณ โดยใช้วิธี โพนช้างคือวิธีให้ช้างต่อไปล่อจับช้างป่า ป่าที่ไปทำการโพนช้างเป็นป่าอยู่ตอนใต้ของอำเภอสังขะและอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับเขตป่าชายแดนกัมพูชา
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเนื่องจากชาวบ้านมีความสามารถในการโพนช้างตามบรรพบุรุษ ต่อมาการโพนช้างลำบากขึ้น เพราะปัญหาชายแดนและช้างป่าลดจำนวนลง ชาวบ้านจึงเลี้ยงช้างกันเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ริเริ่มให้มีการจัดงานแสดงของช้างขึ้น เพื่อแนะนำอำเภอท่าตูมให้เป็นที่รู้จัก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่างานแสดงของช้างที่ท่าตูมแปลกเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ ที่จะใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้ จึงให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดงานและประชาสัมพันธ์งาน จนกระทั่งเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้งานช้างที่จังหวัดสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา และย้ายสถานที่จัดงานจากอำเภอท่าตูมเป็นที่สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์
งานแสดงของช้าง จังหวัดสุรินทร์ จะจัดให้มีในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายนทุกปี เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ในงานจะมีการแสดงช้างเพื่อให้เห็นถึงความชาญฉลาดของช้างไทย และการรู้จักนำช้างป่ามาฝึกใช้งาน ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นด้วย

ขบวนพาเหรดช้างเป็นการนำช้างที่มาร่วมแสดงทุกเชือกเดินเข้าขบวน ต่อจากนั้นเป็นการแห่บั้งไฟโดยมีการนำบั้งไฟมาให้ชมว่าเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จากนั้นเป็นการเซ่นผีปะกำของชาวส่วย ซึ่งเป็นพิธีที่ 
หมอช้างทำขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนออกไปโพนช้าง โดยทำพิธีที่ลานบ้านของตนเอง เครื่องเซ่นสังเวยได้แก่ หมู ดอกไม้ และเหล้า ที่สำคัญคือ เชือกปะกำหรือบ่วงบาศก์ ซึ่งทำจากหนังควายมาตัดเป็นริ้ว ๆ ตากแห้งไว้ประมาณ ๑ ปี จึงนำมาขวั้นเป็นเชือก มีความเหนียวมาก ใช้สำหรับคล้องช้าง เชือกปะกำนี้ถือว่าแรงมากหลังจากได้ผ่านการเซ่นผีปะกำ เพราะเป็นการอัญเชิญวิญญาณปู่ย่าตายาย ครูบา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตบันดาลให้สามารถคล้องช้างได้ทุกครั้งเมื่อออกป่า

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันที่ สำคัญ ของ ลูกๆ ทุกคน





ประวัติความเป็นมา วันแม่แห่งชาติ

ความเป็นมา

        ในงานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลินั้นเอง
ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

        นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “สิริกิติ์” มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
      เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน และระหว่างที่ผนวช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปีเดียวกันค่ะ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่
1. ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ
2. ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
3. การประดับไฟเฉลิมพระเกียรติ และประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
4. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ การแสดง การประกวดต่างๆ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
5. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล
6. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่



                                                                                                                                       
                                                                                                                 
 



                                
 




องขวัญจากลูก

มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก
กรุ่นกลิ่น "รัก" บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ
เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อมน้อมบูชา
กี่พระคุณจากใครอื่นนับหมื่นแสน
อาจทนแทนเปรยเปรียบเทียบคุณค่า
แต่พระคุณ"หนึ่งหยดน้ำนมมารดา"ทั้งสามภพจบหล้า...หาเทียมทัน
ลูกไม่อาจเอ่ยแสดงแถลงถ้อย
หรือเรียงร้อยพจนามาเสกสรรค์
เพื่อบรรยายพระคุณนี้ที่ "อนันต์"
จึงตั้งมั่น "กตัญญุตา" ตลอดไป
หนึ่งคำ "รัก" ลูกรักแม่ แม้ค่าน้อย
ต่างเพชรพลอย ตีราคาค่ามิได้
แต่แม่จ๋า... "รักที่หนึ่ง" ของหัวใจ
มิใช่ใคร "ลูก รัก แม่" แน่นิรันดร์






แม่...หญิงยอดคน
กรองวจีเรียงถ้อยร้อยความรัก
บรรจงถักคำหวานผ่านอักษร
แทน"มาลามะลิ"สวย...ด้วยบทกลอน
กราบ "มารดร" ด้วยรักมั่น "กตัญญุตา"
หากค้นหาความรักจากทุกภพ
หลอมบรรจบเป็นรักที่มากค่า
"รักของแม่" แม้ล้านคำพร่ำพรรณนา
มิอาจหาเปรยเปรียบเทียบทดแทน
ลูกกี่คน... "แม่" เลี้ยง-รัก...ไม่พัก-ผ่อน
ถึงเดือดร้อน...เหนื่อยยากลำบากแสน
ให้ลูกอิ่ม...แม้อัตคัดจนขาดแคลน
จะแร้นแค้น...ซูบเพียงกาย...รักไม่จาง
ชีวิตลูกที่ดำเนินเดินถูกต้อง
เพราะแม่ประคับประคองไม่เหินห่าง
ยามลูกเดินหลงทิศ...ผิดเส้นทาง
แม่คือเทียนส่องสว่าง...กลางดวงใจ
แม่จ๋า...แม่พร่ำสอน...คือพรประเสริฐ
เป็น "พร" เลิศผ่องพิสุทธิ์ดุจแก้วใส
ด้วยไม่มีเคลือบแคลงแฝงเภทภัย
ลูกจดจำ...รำลึกไว้...ใช้เตือนตน
กรองวจีเรียงถ้อยร้อยความรัก
บรรจงถักเป็น"สร้อยคำ"...ที่งามล้น
สื่ออักษรกลอน "รัก" จากกมล
บูชา "แม่"..."หญิงยอดคน"...หนึ่งในใจ






อุ่นไอรัก...จากแม่

กลิ่นความรักหอมนวลอวลไออุ่น
มือละมุนเนียนนุ่มอุ้มโอบขวัญ
ทะนุถนอมตระกรองกอดยอดชีวัน
ประครองป้องผองภยันอันตราย
กี่สิบถ้อยร้อยคำรำพันพรอด
ที่ถ่ายทอด "คำรัก" หลากความหมาย
กี่เปรียบเปรยสรรหามาบรรยาย
ฤาเทียบสายใยรักจาก...มารดา
ครั้งที่ลูกยังเป็นเด็ก เล็กเล็กอยู่
แม่คือ "ครู" สอนอ่านเขียนเรียนภาษา
ให้คำเตือน...เสมือนแสงแห่งปัญญา
ให้วิชาคือ "รู้คิด" ที่ติดตน
ยามลูกเหนื่อยอนาทรแสนอ่อนล้า
ต้องการคำปรึกษาหาเหตุผล
แล้วหันมองรอบกาย...คล้ายมืดมน
ยังพบคนหนึ่ง...คือแม่...คอยแลมอง
แม่จ๋า...แม่คือยอดสตรีที่ประเสริฐ
แม่...เลอเลิศหนึ่งในใจไม่เป็นสอง
แม่...สูงค่ากว่าหยาดเพชรเกร็ดสีทอง
เกินยกย่องด้วยล้านคำ...พร่ำพรรณนา
หอมกลิ่นความรักนวลอวลไออุ่น
ระลึกคุณ แม่โอบอุ้มคุ้มเกศา
มือของลูกจึงเรียงร้อยถ้อยวาจา
เป็นมาลาหอม "รัก" กราบจากใจ







"มาลัยอักษรา" บูชาแม่

โอ้ละเห่-ฟูมฟัก...ด้วยรักเจ้า
เมื่อยามเยาว์แม่ถนอมกล่อมจอมขวัญ
เอื้ออาทร-ร้อนร้าย แม่คลายพลัน
ภัยกางกั้นแม่กล้าฟันฝ่าไป
หวังเพียงแค่ "คนดี" ที่แม่รัก
จะมีหลักอนาคตที่สดใส
ยอมลำบากยากเย็นทุกข์เข็ญใจ
ด้วยสายใยรักแน่น ไม่แคลนคลอน
แม่จ๋า...ล้านความรักจากใครเขา
หลอมรวมเข้าอาจแกร่งยิ่งดั่งสิงขร
แต่... "รัก" หญิงที่ขนานนาม "มารดร"
แกร่งแน่นอน..กว่าสิ่งใดในโลกา
แม่จ๋า...แม่คือหญิงที่ยิ่งใหญ่
เหนือเทพไท้ ทั้งสามภพจบทั่วหล้า
พระคุณล้นเกินรำพันจำนรรจา
พรรณนาเทียบได้...ไม่เพียงพอ
จะหาทิพย์จากสวรรค์ ณ ชั้นสรวง
กรองเป็นพวงแทนพลอย...ทำสร้อยศอ
หรือหยิบดาวพราวฟ้ามาทักทอ
แทนป่านปอ....เป็นของขวัญ...นั้นด้อยไป
โอ้ละเห่..ที่ฟูมฟัก "ลูกรักแม่"
สัญญาแน่..เป็นคนดีมิเผลอไผล
เพื่อทดแทนคุณความรัก...จากดวงใจ
กราบด้วย "มาลัยอักษรา" บูชาเอย







กลอนความรักของแม่
รัก คำไหนยิ่งใหญ่กว่ารักแม่
รัก จริงแท้จะหาไหนไม่มีเหมือน
รัก ของแม่จริงใจไม่บิดเบือน
รัก ของแม่คอยเตือนให้ลูกดี
แม่ คำนี้มีค่าเกินกว่าพูด
แม่ เปรียบฑูตเชื่อมความรักเชื่อมศักดิ์ศรี
แม่ อบรมบ่มนิสัยให้ลูกดี
แม่ คำนี้ลูกรักจะตอบแทน




วันที่ 12 สิงหานี้ เป็นวันที่มีความหมายและสำคัญกับ (ลูกๆทุกคน )

ใครที่กำลังตามหา(คุณแม่) ก็ขอให้ประสบณ์ความสำเร็จไปอย่างมีความสุข 

แต่ความรักที่ให้คุณแม่ไม่ใช่แค่รักที่ให้ได้เฉพาะวันเราควรรักแม่ให้ได้ทุกวันขอวันสุดท้ายที่มีชีวิตอยู่



"เรารักแม่"


On 12 August, this is a meaningful and significant (all children).

 I'm looking for (you) let me have success and happiness.

 I love you I love you not only should we love them every day to day living.



                                                                                                                                               "We love".