วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สินค้า OTOP




ประเภทอาหาร ผลิตผลทางการเกษตรที่บริโภคสด เช่น พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น ปละผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ทั้งอาหารแปรรูปที่พร้อมบริโภค หรืออาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงอาหารแปรรูปที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น น้ำพริก เป็นต้น


ประเภทเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุราแช่ สุรากลั่น เป็นต้น และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่พร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทชงละลาย ขิงผงสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ประเภทชง เช่น น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ชาใบหม่อน ชาจีน เป็นต้น


ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย ผ้าทอ และผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยธรรมชาติผสมเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าแพรวา ผ้าถักโครเชท์ เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับตกแต่งร่างกายจากวัสดุทุกประเภท เช่น ผ้าพันคอ หมวก กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู รองเท้า



ประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเรือน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอยต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจักรสาน, ถักสานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น


ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก สิ่งที่สะท้อน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น


ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ผลผลิตจากธรรมชาติที่ไม่ใช่การบริโภค เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร สบู่สมุนไพร น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น












วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

เด็กรักป่า
























ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า

บุกเบิกด้านการ เชื่อมโยงศิลปะกับธรรมชาติเพื่อเด็ก มานานกว่า 20 ปี โดยมีจุดมุ่งหมาย “เอาธรรมชาติมาเป็นครู” เพื่อให้เกิดการใช้ฐานทรัพยากรของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ และให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ ด้วยการสร้างสถานที่เลี้ยงเด็ก เส้นทางศึกษาธรรมชาติ และให้ชาวบ้านเป็น “บอร์ด” การศึกษา


ร่วม “แบ่งปัน” ด้วยการ

  • สนับสนุนทุนการสร้างโรงเรียนอนุบาล ในลักษณะการ “ขายหุ้น” ให้แก่ชุมชนและผู้ร่วมแบ่งปัน เพื่อให้ลูกหลานคนในหมู่บ้านได้มีโอกาสเรียนและเข้าใจธรรมชาติ
  • ผู้มีความเชี่ยวชาญช่วย “มอง” การบริหารจัดการเพื่อให้โครงการสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
  • อาสาสมัครเข้ามาร่วมสอน/เป็นวิทยากรในวิชาต่าง ๆ

ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า

63 หมู่ 3 ต.สำโรง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 083-129-2825

ผู้ประสานงาน: อาริยา โมราษฎร์ ariya_49@hotmail.com

 

งานช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปี2555

กำหนดการจัดงานช้างและงานกาชาด จังหวัดสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๕

ความเป็นมาของงานแสดงช้างสุรินทร์
บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว “กวย” หรือ “ส่วย” นิยมเลี้ยวช้างมาแต่โบราณกาล เพื่อนำไปใช้ในงานและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของหมู่บ้านช้าง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก
 
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน โดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดง และนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมการแสดง
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ ๔๗
 
ย้อนอดีตกลับไปเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยาช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางเมืองพิมาย พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทหารออกติดตาม จนกระทั่งถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ซึ่งชาวกวยกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้างและจับช้างอย่างยิ่งในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบและนำกลับสู่กรุงศรีอยุธยาความดีความชอบในครั้งนั้น ส่งผลให้หัวหน้าชาวกูยที่เป็นคณะติดตามช้างได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
 
เหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากันสนใจกันเป็นจำนวนมาก และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลายให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกันเนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศการแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งนอกจากจะมีการแสดงคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริงมีมหรสพต่างๆตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่งในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลกนัต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี แล้ว   ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์ จังหวัดที่เคยเงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกูยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...
 
 
 

 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สุรินทร์เป็นจังหวัดในกลุ่มอีสานใต้ที่มีชาวพื้นเมืองเชื้อสายชาวส่วยอยู่มาก โดยเฉพาะที่อำเภอท่าตูม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ชาวส่วยนอกจากจะมีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างไปจากชาวไทยอีสานอื่นแล้ว ยังเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานมาแต่โบราณ โดยใช้วิธี โพนช้างคือวิธีให้ช้างต่อไปล่อจับช้างป่า ป่าที่ไปทำการโพนช้างเป็นป่าอยู่ตอนใต้ของอำเภอสังขะและอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับเขตป่าชายแดนกัมพูชา
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเนื่องจากชาวบ้านมีความสามารถในการโพนช้างตามบรรพบุรุษ ต่อมาการโพนช้างลำบากขึ้น เพราะปัญหาชายแดนและช้างป่าลดจำนวนลง ชาวบ้านจึงเลี้ยงช้างกันเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ริเริ่มให้มีการจัดงานแสดงของช้างขึ้น เพื่อแนะนำอำเภอท่าตูมให้เป็นที่รู้จัก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่างานแสดงของช้างที่ท่าตูมแปลกเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ ที่จะใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้ จึงให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดงานและประชาสัมพันธ์งาน จนกระทั่งเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้งานช้างที่จังหวัดสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา และย้ายสถานที่จัดงานจากอำเภอท่าตูมเป็นที่สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์
งานแสดงของช้าง จังหวัดสุรินทร์ จะจัดให้มีในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายนทุกปี เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ในงานจะมีการแสดงช้างเพื่อให้เห็นถึงความชาญฉลาดของช้างไทย และการรู้จักนำช้างป่ามาฝึกใช้งาน ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นด้วย

ขบวนพาเหรดช้างเป็นการนำช้างที่มาร่วมแสดงทุกเชือกเดินเข้าขบวน ต่อจากนั้นเป็นการแห่บั้งไฟโดยมีการนำบั้งไฟมาให้ชมว่าเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จากนั้นเป็นการเซ่นผีปะกำของชาวส่วย ซึ่งเป็นพิธีที่ 
หมอช้างทำขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนออกไปโพนช้าง โดยทำพิธีที่ลานบ้านของตนเอง เครื่องเซ่นสังเวยได้แก่ หมู ดอกไม้ และเหล้า ที่สำคัญคือ เชือกปะกำหรือบ่วงบาศก์ ซึ่งทำจากหนังควายมาตัดเป็นริ้ว ๆ ตากแห้งไว้ประมาณ ๑ ปี จึงนำมาขวั้นเป็นเชือก มีความเหนียวมาก ใช้สำหรับคล้องช้าง เชือกปะกำนี้ถือว่าแรงมากหลังจากได้ผ่านการเซ่นผีปะกำ เพราะเป็นการอัญเชิญวิญญาณปู่ย่าตายาย ครูบา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตบันดาลให้สามารถคล้องช้างได้ทุกครั้งเมื่อออกป่า