วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

งานช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปี2555

กำหนดการจัดงานช้างและงานกาชาด จังหวัดสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๕

ความเป็นมาของงานแสดงช้างสุรินทร์
บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว “กวย” หรือ “ส่วย” นิยมเลี้ยวช้างมาแต่โบราณกาล เพื่อนำไปใช้ในงานและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของหมู่บ้านช้าง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก
 
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุน โดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดง และนำนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาชมการแสดง
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่องเที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาจัดงานที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ ๔๗
 
ย้อนอดีตกลับไปเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยาช้างเผือกสำคัญแตกโรงหนีเข้าป่ามาทางเมืองพิมาย พระองค์จึงโปรดฯ ให้ทหารออกติดตาม จนกระทั่งถึงเขตที่ชุมชนชาวกูย (กวย) อาศัยอยู่ ซึ่งชาวกวยกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีความชำนาญในการคล้องช้างและจับช้างอย่างยิ่งในที่สุดก็สามารถติดตามช้างเผือกจนพบและนำกลับสู่กรุงศรีอยุธยาความดีความชอบในครั้งนั้น ส่งผลให้หัวหน้าชาวกูยที่เป็นคณะติดตามช้างได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
 
เหตุการณ์ชุมนุมช้างอย่างไม่ได้ตั้งใจในปี๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนที่ทราบข่าวต่างพากันสนใจกันเป็นจำนวนมาก และในปี ๒๕๐๓ อำเภอท่าตูม ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านช้างได้มีการเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ นายวินัย สุวรรณประกาศซึ่งเป็นนายอำเภอในขณะนั้นได้เชิญชวนให้ชาวกูยเลี้ยงช้างทั้งหลายให้นำช้างของตนมาจัดแสดงให้ประชาชนได้ดูได้ชมกันเนื่องจากไม่สามารถจะไปคล้องช้างตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาได้อย่างเคย อันเนื่องมาจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศการแสดงในครั้งนั้นด้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งนอกจากจะมีการแสดงคล้องช้างให้ดูแล้ว ยังมีการเดินขบวนแห่ช้าง การแข่ง วิ่งช้าง และในกลางคืนก็ได้มีงานรื่นเริงมีมหรสพต่างๆตลอดคืน ซึ่งใครจะคาดคิดว่าจากงานเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่งในถิ่นทุรกันดารของภาคอืสานเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ จะกลายมาเป็นงานประเพณีของชาติที่โด่งดังไปทั่วโลกนัต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบันประเพณีการแสดงของช้างได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี แล้ว   ถ้าเป็นคนก็ถือว่าย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็ไม่ผิดเท่าใดนักสุรินทร์ จังหวัดที่เคยเงียบเหงาในอดีต ได้ถูกชาวกูยและช้างสร้างให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกอย่างน่าภาคภูมิใจ วีรกรรมของชาวกูยปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากบรรพบุรุษเลยแม้แต่น้อย...
 
 
 

 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สุรินทร์เป็นจังหวัดในกลุ่มอีสานใต้ที่มีชาวพื้นเมืองเชื้อสายชาวส่วยอยู่มาก โดยเฉพาะที่อำเภอท่าตูม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ชาวส่วยนอกจากจะมีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างไปจากชาวไทยอีสานอื่นแล้ว ยังเป็นเผ่าที่มีชื่อเสียงในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานมาแต่โบราณ โดยใช้วิธี โพนช้างคือวิธีให้ช้างต่อไปล่อจับช้างป่า ป่าที่ไปทำการโพนช้างเป็นป่าอยู่ตอนใต้ของอำเภอสังขะและอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ติดต่อกับเขตป่าชายแดนกัมพูชา
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเนื่องจากชาวบ้านมีความสามารถในการโพนช้างตามบรรพบุรุษ ต่อมาการโพนช้างลำบากขึ้น เพราะปัญหาชายแดนและช้างป่าลดจำนวนลง ชาวบ้านจึงเลี้ยงช้างกันเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ริเริ่มให้มีการจัดงานแสดงของช้างขึ้น เพื่อแนะนำอำเภอท่าตูมให้เป็นที่รู้จัก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่างานแสดงของช้างที่ท่าตูมแปลกเด่นเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ ที่จะใช้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศได้ จึงให้ความร่วมมือสนับสนุนในการจัดงานและประชาสัมพันธ์งาน จนกระทั่งเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้งานช้างที่จังหวัดสุรินทร์เป็นงานประจำปีของชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา และย้ายสถานที่จัดงานจากอำเภอท่าตูมเป็นที่สนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์
งานแสดงของช้าง จังหวัดสุรินทร์ จะจัดให้มีในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนพฤศจิกายนทุกปี เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ในงานจะมีการแสดงช้างเพื่อให้เห็นถึงความชาญฉลาดของช้างไทย และการรู้จักนำช้างป่ามาฝึกใช้งาน ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นด้วย

ขบวนพาเหรดช้างเป็นการนำช้างที่มาร่วมแสดงทุกเชือกเดินเข้าขบวน ต่อจากนั้นเป็นการแห่บั้งไฟโดยมีการนำบั้งไฟมาให้ชมว่าเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จากนั้นเป็นการเซ่นผีปะกำของชาวส่วย ซึ่งเป็นพิธีที่ 
หมอช้างทำขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนออกไปโพนช้าง โดยทำพิธีที่ลานบ้านของตนเอง เครื่องเซ่นสังเวยได้แก่ หมู ดอกไม้ และเหล้า ที่สำคัญคือ เชือกปะกำหรือบ่วงบาศก์ ซึ่งทำจากหนังควายมาตัดเป็นริ้ว ๆ ตากแห้งไว้ประมาณ ๑ ปี จึงนำมาขวั้นเป็นเชือก มีความเหนียวมาก ใช้สำหรับคล้องช้าง เชือกปะกำนี้ถือว่าแรงมากหลังจากได้ผ่านการเซ่นผีปะกำ เพราะเป็นการอัญเชิญวิญญาณปู่ย่าตายาย ครูบา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาสถิตบันดาลให้สามารถคล้องช้างได้ทุกครั้งเมื่อออกป่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น